คำว่าโรงกษาปณ์ หรือ MINT หมายถึง โรงงานผลิตเหรียญที่เป็นเงินตราชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เหรียญที่ผลิตเป็นเงินตราของประเทศตนเอง หรือต่างประเทศก็ได้ ส่วนโรงงานผลิตเหรียญทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่เงินตรา เพียงแต่มีลักษณะเป็นการขึ้นรูปโลหะ หรือ Stamping จึงไม่ใช่โรงกษาปณ์ และไม่สมควรนำคำว่ากษาปณ์ หรือ MINT ไปใช้เป็นชื่อโรงงาน(1) ประเทศไทยมีโรงกษาปณ์แห่งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
เป็นโรงจักรทำเหรียญเงิน ตั้งอยู่ที่เดียวกับโรงทำเงินพดด้วง ณ มุมถนนนอกประตูสุวรรณบริบาลด้านตะวันออก ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเปิดทำการเสร็จและเริ่มผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2403 ได้รับพระราชทานนามว่า “โรงกระสาปน์สิทธิการ”
เป็นโรงจักรทำเหรียญเงิน ตั้งอยู่ที่เดียวกับโรงทำเงินพดด้วง ณ มุมถนนนอกประตูสุวรรณบริบาลด้านตะวันออก ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเปิดทำการเสร็จและเริ่มผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2403 ได้รับพระราชทานนามว่า “โรงกระสาปน์สิทธิการ”
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อเครื่องจักรทำเหรียญกษาปณ์ใหม่ที่มีกำลังสูงขึ้น และสร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ให้กว้างขวางกว่าเดิมอยู่บริเวณด้านตะวันตกของประตูสุวรรณบริบาล ในพระบรมมหาราชวัง ในปี พ.ศ. 2418 ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ครั้น พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ขึ้นที่ริมคลองหลอด ถนนเจ้าฟ้า นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งที่ 3 ของไทย หลังจากที่โรงกษาปณ์แห่งที่ 2 ได้ใช้เครื่องจักรผลิตเหรียญติดต่อกันมานานถึง 25 ปี ชำรุด และความต้องการเหรียญกษาปณ์ในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น โรงกษาปณ์แห่งใหม่นี้สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ปัจจุบัน คือ หอศิลปะแห่งชาติ สำหรับโรงกษาปณ์แห่งที่ 4 ถนนประดิพัท ธ์ นั้นสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2515 เนื่องจากกรมธนารักษ์ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำเหรียญกษาปณ์ให้เพียงพอกับความต้องการในระบบเศรษฐกิจซึ่งมีจำนวยมากขึ้นจึงทำให้ต้องย้ายโรงกษาปณ์จากบริเวณคลองหลอดไปที่ถนนประดิพัทธ์ สามเสนใน กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ต่อมากองกษาปณ์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นสำนักกษาปณ์
โรงกษาปณ์รังสิต
เมื่อปริมาณความต้องการใช้เหรียญหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจมีปริมาณสูงขึ้นในขณะที่พื้นที่สำนักกษาปณ์ ถนนประดิพัทธ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่สามารถขยายกำลังผลิต ในขณะที่ความต้องการในการใช้เหรียญแต่ละปีเพิ่มมากขึ้น และเพื่อขจัดมลภาวะเป็นพิษ จากกระบวนการผลิตที่อาจเกิดผลต่อชุมชน ใกล้เคียง กรมธนารักษ์จึงย้ายโรงกษาปณ์จากถนนประดิพัทธ์ไปยังโรงกษาปณ์รังสิต เป็นโรงกษาปณ์แห่งที่5 ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อขยายกำลังผลิตเหรียญกษาปณ์ให้
เพียงพอกับความต้องการในระบบเศรษฐกิจ ปรับปรุงระบบและกระบวนการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
โรงกษาปณ์ รังสิต มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ณ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเป็นที่ภาคภูมิใจว่า ณ วันนี้ประเทศไทยได้มีโรงกษาปณ์ที่มีความทันสมัยรับผิดชอบในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสภาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหตุการณ์ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติยศ ชื่อเสียงและวัฒนธรรมอันดีของประเทศ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สำนักกษาปณ์ยังมีภารกิจในการผลิตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องหมายตอบแทน และผลิตภัณฑ์สั่งจ้างต่างๆ ตามความต้องการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งงานติดตั้งซ่อมระบบประตูห้องมั่นคง และตู้นิรภัยให้กับคลังจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ สำนักกษาปณ์ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านคุณภาพและบริการให้เป็นมาตรฐานสากลรวมทั้งสืบสานงานช่างด้านศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยให้ดำรงสืบต่อไป
เพียงพอกับความต้องการในระบบเศรษฐกิจ ปรับปรุงระบบและกระบวนการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
โรงกษาปณ์ รังสิต มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ณ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเป็นที่ภาคภูมิใจว่า ณ วันนี้ประเทศไทยได้มีโรงกษาปณ์ที่มีความทันสมัยรับผิดชอบในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสภาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหตุการณ์ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติยศ ชื่อเสียงและวัฒนธรรมอันดีของประเทศ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สำนักกษาปณ์ยังมีภารกิจในการผลิตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องหมายตอบแทน และผลิตภัณฑ์สั่งจ้างต่างๆ ตามความต้องการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งงานติดตั้งซ่อมระบบประตูห้องมั่นคง และตู้นิรภัยให้กับคลังจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ สำนักกษาปณ์ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านคุณภาพและบริการให้เป็นมาตรฐานสากลรวมทั้งสืบสานงานช่างด้านศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยให้ดำรงสืบต่อไป
ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต ในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 กรมธนารักษ์ ได้จัดทำเหรียญที่ระลึกพิธีเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต มีลักษณะรายละเอียดของเหรียญ ดังนี้
ลักษณะเหรียญกลมแบนขอบเรียบ
ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้านหลัง รูปอาคารสำนักกษาปณ์ รังสิต
จัดทำ 1. ชนิดเหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Gold)
2. เหรียญทองคำพ่นทราย (Frosted Gold)
3. เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Toned Silver)
4. เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Toned Copper)
ออกแบบและผลิต สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์
วัตถุประสงค์ในการผลิต
1. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
- เหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ พร้อมบรรจุกล่องผ้าไหม ทูลเกล้าฯ ถวาย
2. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
- เหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญพร้อมบรรจุกล่องผ้าไหม ทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับเหรียญที่ระลึกชนิดเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. และเหรียญที่ระลึกชนิดทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาด 4 ซม. สำหรับมอบให้ผู้ที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมพิธีเปิดโรงงานกษาปณ์ รังสิต ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ลักษณะเหรียญกลมแบนขอบเรียบ
ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้านหลัง รูปอาคารสำนักกษาปณ์ รังสิต
จัดทำ 1. ชนิดเหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Gold)
2. เหรียญทองคำพ่นทราย (Frosted Gold)
3. เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Toned Silver)
4. เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Toned Copper)
ออกแบบและผลิต สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์
วัตถุประสงค์ในการผลิต
1. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
- เหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ พร้อมบรรจุกล่องผ้าไหม ทูลเกล้าฯ ถวาย
2. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
- เหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
- เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญพร้อมบรรจุกล่องผ้าไหม ทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับเหรียญที่ระลึกชนิดเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. และเหรียญที่ระลึกชนิดทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาด 4 ซม. สำหรับมอบให้ผู้ที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมพิธีเปิดโรงงานกษาปณ์ รังสิต ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
หมายเหตุ เหรียญดังกล่าวมิได้ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย
แหล่งข้อมูล สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต. กรุงเทพฯ : บริษัทดาวฤกษ์ จำกัด, 2546
No comments:
Post a Comment