Thursday, January 27, 2011

วิธีล้างเหรียญเงินที่มีสนิมสีเขียวจ๊ะ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักสะสมเหรียญมือใหม่นะครับ.......อ่านเจอมาอีกแล้วเลยเอามาฝากครับ   เข้าเรื่องเลยแล้วกัน
สนิมเขียวที่ว่า กินเข้าไปในเนื้อเหรียญหรือไม่ หากไม่กิน ไม่แนะนำให้ล้างครับ เพราะจะทำให้เสียผิวเดิมของเหรียญไปครับ โดยเฉพาะเหรียญที่ทำปฏิกิริยากับอากาศนานๆ จนมีสีที่แสดงถึงความเก่าแก่ อันเป็นที่นิยมมากในยุโรป และอเมริกา อย่างไรก็ตามเหรียญที่สกปรกมากๆ อาจทำความสะอาดได้ โดยล้างอย่างระมัดระวัง ในน้ำสบู่ โดยใช้แปลงขนอ่อนปัดเบาๆ ห้ามแช่ในน้ำกรด ส้ม มะขาม หรือมะนาวเด็ดขาด นอกจากนั้น เดี๋ยวนี้มีน้ำยาล้างเหรียญเงินขาย ที่มีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง ทั้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ จึงต้องระมัดระวัง ทั้งไม่แช่นานเกินไป จนผิวถูกกัดกร่อน ควรใช้น้ำยานี้ทำความสะอาจเหรียญที่สกปรกมาก ๆ เท่านั้น ไม่ควรใช้กับเหรียญดีผิวเดิม 
หากดำมากจนขึ้นคราบเหนียวดำๆ เพราะเก็บไว้ในอัลบัมนานจนเหนียวและดำ วิธีล้างให้ง่ายและประหยัดใช้สารโซเดียมไบคาร์บอเน็ต หรือที่เรียกว่า เบ็คกิ่งโซดา 
ซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป ราคาปอนด์หนึ่ง 30 กว่าบาท ลักษณะเป็นผงเหมือนเกลือ 
ผสมน้ำในถ้วยแล้วล้างเหรียญขัดด้วยมือเบา ๆ จะขาวใสอยู่ได้นานอีกเป็นสิบปีครับ

ที่มาคับ : http://www.cokethai.com/board/viewtopic.php?t=5916

สุดยอด ความรู้เรื่อง ตัวติดเหรียญ 10 บาทสองสี ปี 2533

 
          ขลุกขลักเล็กน้อยครับกว่าจะหาเหรียญเจอว่าเจ้าเหรียญนี้ไปซุกซ่อนอยู่ตรงไหน กว่าจะถ่ายรูปอย่างทุลักทุเลเพราะอุปกรณ์บางอย่างหาไม่เจอภาพเลยออกมาไม่ค่อยจะดี
อ่านกันเพลินๆเผื่อจะได้ข้อคิดในการหาซื้อเหรียญ ความตั้งใจอยากจะให้สมาชิกเข้ามาต่อยอด มีเหรียญอะไรที่มาที่ไปเป็นแบบไหนโพสท์กันเข้ามาแบบสนุกๆไม่ซีเรียส
เจ้าเหรียญ 10 บาทสองสีปี 2533 นี่เขาว่าหายากเพราะผลิตเพียง 100 เหรียญ ให้ผู้ใหญ่เอาไปแจกที่ต่างประเทศซะหลายสิบเหรียญที่เหลือกลับมาเมืองไทยก็ไม่รู้ว่าตก
อยู่กับใครบ้าง
          เหรียญนี้ได้มาตั้งแต่ปี 2538 โน่นแน่ะครับ ร้านขายเหรียญโทรมาบอกว่า “มีเหรียญสิบบาทปี 2533 เอาไหม ถ้าจะดูรีบมาเลย”อ้ายผมส่วนใหญ่หนักไปทาง
เหรียญเก่าๆยังงงอยู่นิดๆ เอ้าไปดูก็ไปดู “ผลิตน้อยนะแค่ร้อยเหรียญ ผมลืมเอาสำเนาคำสั่งผลิตมาให้ดู วันหลังจะเอามาให้ดูเขาผลิตร้อยเดียวจริงๆไม่โกหก” ผมหยิบ
เหรียญมาส่องดูแล้วถามว่า “ตีไว้เท่าไหร่เฮีย” “เหรียญนี้แสนห้าครับ”ผมฟังแล้วสะดุ้งเหรียญเกือบหล่นจากมือ “โอ้โฮ !เหรียญใหม่ๆอย่างนี้นะตั้งแสนห้าเก็บเหรียญ
เก่าได้อีกอื้อเลย”ผมวางเหรียญลง “ไม่แพงครับกว่าผมจะได้มาผ่านตั้งหลายด่านถ้าพี่ว่าแพงผมมีอีกเหรียญถูกกว่าครับ” เจ้าของร้านหันกลับไปล้วงเอาสมุดเก็บเหรียญคู่
ชีวิตออกมาพลิกและหยิบอีกเหรียญส่งให้ “อ้าวเหรียญนี้ใครมันดันตอกตัว T ไว้ที่เหรียญทำไม” ผมซักต่อ “อ๋อ มันเป็นเหรียญลองพิมพ์ เขาว่ามีห้าเหรียญ ผมได้มา
เหรียญเดียว” ผมส่องดูอยู่นานกับเจ้าเครื่องหมายตัว T (น่าจะย่อมาจาก Test)ขนาดเกือบใหญ่ที่อยู่บนพื้นทองเหลือง “แล้วเหรียญนี้เท่าไหร่”ผมแกล้งแหย่ต่อ
“แสนถ้วนครับ” เจ้าของตอบด้วยความหวังว่าน่าจะโดนใจผมสักเหรียญ “ไม่มีเงินค่ะ ช่วงนี้ซื้อของไปเยอะแล้ว”ผมตอบแบบวัดดวง “ไม่เป็นไร เมื่อไหร่ก็ได้ เอาไปเก็บ
ไว้ก่อน หาไม่ได้แล้วนะ”เจ้าของร้านชักเสียงอ่อนลง “อย่าให้มันถึงแสนห้าเลยแค่แสนสองก็พอแล้ว ไม่รู้ว่ามันร้อยเหรียญจริงหรือเปล่าถ้าดันมีออกมามากๆก็จบกัน”
เจ้าของร้านพยายามยื้อราคาขึ้นผมเลยรีบตัดบท “จะรีบไปแล้วถ้าได้ก็ส่งมาเลย”แล้วผมก็ไม่พูดมากหยิบเหรียญใส่กระเป๋าเสื้อเดินออกมาแล้วหันไปสำทับว่า “แล้วจะโอน
เงินไปให้” ผมเดินออกมาด้วยความงงว่าตูข้าคิดผิดหรือคิดถูกที่ดันไปเอาเหรียญนี้มารู้อยู่แล้วว่าหายากแต่กลัวจะผิดราคา อย่ากระนั้นเลยผมรีบเดินไปอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่ไม่
ไกลกันมากนัก “เออ อ้ายเหรียญสิบบาทปี 2533 เขาเล่นกันเท่าไหร่วะ ” เจ้าของร้านใหม่หันมามองหน้าผมอย่างแปลกใจ “ อ้าวเล่นเหรียญใหม่แล้วรึ เห็นเมื่อสี่เดือนก่อนอ้าย..
มันปล่อยไปหกหมื่นกว่า”เอาละซิครับถ้าเป็นท่านๆจะคิดอย่างไร
             ส่วนตัวผมเองมึนครับสงสัยว่าตัวเองคงจะตกควายแน่ๆ(ภาษานักเล่นพระเขาใช้กับพวกที่ซื้อขายของแบบผิดราคาเรียกว่าโง่ยิ่งกว่าควายทำนองนั้นแหละครับ)ผมเลยบอกกับเจ้าของร้านคนใหม่ว่า “เอาอย่างนี้ถ้าคุรไปเอาเหรียญนั้นมาให้ผมได้ในราคาไม่เกินแปดหมื่น ผมให้ค่าเดิน 10%” เจ้าของร้านมองหน้าผมลดน้ำเสียงลงแล้วบอกว่า “ไม่รู้มันขายต่อใครไปแล้วหรือยัง ผมก็ฟังเขามาอีกทีถ้ายังไงจะลองถามดูให้” จากวันนั้นจนถึงวันนี้เจ้าของร้านคนนั้นไม่เคยพูดถึงเหรียญสิบบาทปี 2533 ให้ผมได้ยินอีกเลยครับ ส่วนตัวผมเมื่อซื้อแล้วจะถูกจะแพงอย่างไรจะไม่คิดอีกเพราะไม่เกิดประโยชน์ จะเดินเอาเหรียญกลับไปคืนร้านเดิมก็กลัวเสียฟอร์ม เลยเก็บเอาไว้จนเกือบลืม พอดีน้องกฤตย์ดันเอาเหรียญแบบนี้มาโพสท์ไว้อีกกระทู้หนึ่งเลยนึกขึ้นได้ คุณนิคมก็เร่งไขลานผมซ้ำอีกเลยต้องเอามาโพสท์ดูกัน เหรียญนี้เป็นเหรียญสภาพดีระดับ UNC แต่ด้านหน้ามีรอยด่างเป็นจุดๆนิดหน่อยว่าจะค่อยๆทำความสะอาด ผมยังนึกย้อนไปว่าถ้าผมดันเอาเจ้าเหรียญที่มีตำหนิที่มีตัว T เอาไว้อีกหนึ่งตัว ณ เวลานี้มันยังจะคุ้มไหมหนอ 

ภาพเปรียบเทียบตัวหนังสือระหว่างปี 2533 กับปี 2537 (ที่นิยมเอาไปตัดหางให้เป็นปี 2533) จะสังเกตุเห็นได้ว่าตัวเลขเจ็ดถ้าไม่มีหางจะมีความผอมกว่าเลข
สามของแท้เล็กน้อย และหัวของเลขเจ็ดจะมีความห่างไม่เท่ากับหัวของเลขสามซึ่งเป็นของแท้ครับ

ต้องขอบคุณ : คุณ : นายอรรณพ แก้วปทุมทิพย์ [เลขที่สมาชิก 00000001379] - [ 5 พฤษภาคม 2552 22:35 น. ] http://ecatalog.treasury.go.th/webboard/view.php?qid=3636&gid=12&PageShow=4

เหรียญนอกระบบ...คือไร...ต้องเข้ามาดูซิ

มีเหรียญกษาปณ์บางชนิดที่มีอยู่ในท้องตลาด แต่ไม่ปรากฎข้อมูลในเว็บและหนังสือของกรมธนารักษ์ ได้แก่
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 1 บาท ปี 2493
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 50 สคางค์ ปี 2493 พิมพ์ใหญ่
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ทองเหลือง ราคา 10 และ 25 สคางค์ ปี 2500 พิมพ์เล็ก
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ทองแดง ราคา 10 สคางค์ ปี 2500 พิมพ์เล็ก
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 5 และ 10 สคางค์ ปี 2500 ชนิดดีบุก
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 25 สคางค์ ปี 2520 (รวงข้าว) เลขศูนย์กลม
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 25 สคางค์ ปี 2520 (รวงข้าว) ชนิดทองแดง
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 1 บาท ปี 2520 (เรือสุพรรณหงส์) ภู่สั้น - ยาว
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 1 บาท ปี 2525 (วัดพระแก้ว) เศียรเล็ก
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 1 บาท ปี 2529 (วัดพระแก้ว) ช่อฟ้าสั้น - ยาว
  • เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน บางราคา บางปี มีการใช้ตัวอักษร/เลขปี หนา - บาง ต่างกันบ้าง
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 50 พรรษาในหลวง พ.ศ. 2520 ราคา 5 บาท "สยามินทร์"
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก สมโภชกรุงฯ พ.ศ. 2525 ราคา 5 / 600 / 9000 บาท ขัดเงา
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ซีเกมส์ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2528 ราคา 2 บาท ขัดเงา


ที่มา: หนังสือเหรียญกษาปณ์ไทย พ.ศ. 2550 โดย วีรชัย สมิตาสิน และ 
http://coins.thport.com/

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในงานปีต้นไม้แห่งชาติ


ด้านหน้าเหรียญ : กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้าย มีข้อความว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"
ด้านหลังเหรียญ : กลางเหรียญมีเครื่องหมายของกรมป่าไม้ซ้อนทับบนต้นไม้ขนาดใหญ่ มีข้อความบอกราคาซ้อนทับบนลำต้น ด้านซ้ายมีสัญลักษณ์ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( FAO ) ด้านขวามี สัญลักษณ์ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( UNEP ) ชิดวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "งานปีต้นไม้แห่งชาติ ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๑" "NATIONAL YEARS OF THE TREES 1985-1988 " "THAILAND"
 ข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำหนัก  : 15 กรัม
ราคาจำหน่าย/จ่ายแลก : 10 บาท
วันที่ประกาศใช้  : 19 มิถุนายน 2529
เส้นผ่าศูนย์กลาง  : 32  มิลลิเมตร
ชนิด : นิกเกิล
ชนิดราคา(ราคาหน้าเหรียญ) : 10 บาท
ประเภท : ธรรมดา
ลักษณะ : เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
จำนวนการผลิต :
ปีที่ผลิต
จำนวน
1986
100,000 เหรียญ
 ส่วนผสม  :
ชื่อส่วนผสม
ร้อยละ
นิกเกิล
100

โรงกษาปณ์แห่งแรกของประเทศไทย

คำว่าโรงกษาปณ์ หรือ MINT หมายถึง โรงงานผลิตเหรียญที่เป็นเงินตราชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เหรียญที่ผลิตเป็นเงินตราของประเทศตนเอง หรือต่างประเทศก็ได้ ส่วนโรงงานผลิตเหรียญทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่เงินตรา เพียงแต่มีลักษณะเป็นการขึ้นรูปโลหะ หรือ Stamping จึงไม่ใช่โรงกษาปณ์ และไม่สมควรนำคำว่ากษาปณ์ หรือ MINT ไปใช้เป็นชื่อโรงงาน(1) ประเทศไทยมีโรงกษาปณ์แห่งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
เป็นโรงจักรทำเหรียญเงิน ตั้งอยู่ที่เดียวกับโรงทำเงินพดด้วง ณ มุมถนนนอกประตูสุวรรณบริบาลด้านตะวันออก ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเปิดทำการเสร็จและเริ่มผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้เมื่อปี พ.ศ. 2403 ได้รับพระราชทานนามว่า “โรงกระสาปน์สิทธิการ”
                            โรงกษาปณ์แห่งแรกของประเทศไทย                                          โรงกษ าปณ์ในพระบรมมหาราชวัง
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อเครื่องจักรทำเหรียญกษาปณ์ใหม่ที่มีกำลังสูงขึ้น และสร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ให้กว้างขวางกว่าเดิมอยู่บริเวณด้านตะวันตกของประตูสุวรรณบริบาล ในพระบรมมหาราชวัง ในปี พ.ศ. 2418 ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
                           โรงกษาปณ์ถนนเจ้าฟ้า                                                           โรงกษาปณ์ถนนประดิพัทธ์
ครั้น พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์แห่งใหม่ขึ้นที่ริมคลองหลอด ถนนเจ้าฟ้า นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งที่ 3 ของไทย หลังจากที่โรงกษาปณ์แห่งที่ 2 ได้ใช้เครื่องจักรผลิตเหรียญติดต่อกันมานานถึง 25 ปี ชำรุด และความต้องการเหรียญกษาปณ์ในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น โรงกษาปณ์แห่งใหม่นี้สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ปัจจุบัน คือ หอศิลปะแห่งชาติ สำหรับโรงกษาปณ์แห่งที่ 4 ถนนประดิพัท ธ์ นั้นสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2515 เนื่องจากกรมธนารักษ์ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำเหรียญกษาปณ์ให้เพียงพอกับความต้องการในระบบเศรษฐกิจซึ่งมีจำนวยมากขึ้นจึงทำให้ต้องย้ายโรงกษาปณ์จากบริเวณคลองหลอดไปที่ถนนประดิพัทธ์ สามเสนใน กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ต่อมากองกษาปณ์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นสำนักกษาปณ์

                                                                        โรงกษาปณ์รังสิต

เมื่อปริมาณความต้องการใช้เหรียญหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจมีปริมาณสูงขึ้นในขณะที่พื้นที่สำนักกษาปณ์ ถนนประดิพัทธ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่จำกัดไม่สามารถขยายกำลังผลิต ในขณะที่ความต้องการในการใช้เหรียญแต่ละปีเพิ่มมากขึ้น และเพื่อขจัดมลภาวะเป็นพิษ จากกระบวนการผลิตที่อาจเกิดผลต่อชุมชน ใกล้เคียง กรมธนารักษ์จึงย้ายโรงกษาปณ์จากถนนประดิพัทธ์ไปยังโรงกษาปณ์รังสิต เป็นโรงกษาปณ์แห่งที่5 ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อขยายกำลังผลิตเหรียญกษาปณ์ให้
เพียงพอกับความต้องการในระบบเศรษฐกิจ ปรับปรุงระบบและกระบวนการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้
โรงกษาปณ์ รังสิต มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ณ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีเป็นที่ภาคภูมิใจว่า ณ วันนี้ประเทศไทยได้มีโรงกษาปณ์ที่มีความทันสมัยรับผิดชอบในการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนออกใช้ได้เพียงพอต่อความต้องการในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และผลิตเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสภาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหตุการณ์ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติยศ ชื่อเสียงและวัฒนธรรมอันดีของประเทศ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สำนักกษาปณ์ยังมีภารกิจในการผลิตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เครื่องหมายตอบแทน และผลิตภัณฑ์สั่งจ้างต่างๆ ตามความต้องการของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งงานติดตั้งซ่อมระบบประตูห้องมั่นคง และตู้นิรภัยให้กับคลังจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้ สำนักกษาปณ์ได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านคุณภาพและบริการให้เป็นมาตรฐานสากลรวมทั้งสืบสานงานช่างด้านศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยให้ดำรงสืบต่อไป
                     เหรียญที่ระลึกพิธีเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต
ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต ในวันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 กรมธนารักษ์ ได้จัดทำเหรียญที่ระลึกพิธีเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต มีลักษณะรายละเอียดของเหรียญ ดังนี้
ลักษณะเหรียญกลมแบนขอบเรียบ
ด้านหน้า พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ด้านหลัง รูปอาคารสำนักกษาปณ์ รังสิต
จัดทำ    1. ชนิดเหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Gold)
           2. เหรียญทองคำพ่นทราย (Frosted Gold)
           3. เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Toned Silver)
           4. เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ (Frosted Toned Copper)
ออกแบบและผลิต สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์
วัตถุประสงค์ในการผลิต
          1. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
              - เหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
              - เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
              - เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ พร้อมบรรจุกล่องผ้าไหม ทูลเกล้าฯ ถวาย
          2. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
              - เหรียญทองคำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
              - เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญ
              - เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. จำนวน 1 เหรียญพร้อมบรรจุกล่องผ้าไหม ทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับเหรียญที่ระลึกชนิดเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. และเหรียญที่ระลึกชนิดทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ ขนาด 4 ซม. สำหรับมอบให้ผู้ที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมพิธีเปิดโรงงานกษาปณ์ รังสิต ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2546

หมายเหตุ เหรียญดังกล่าวมิได้ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย
แหล่งข้อมูล สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดโรงกษาปณ์ รังสิต. กรุงเทพฯ : บริษัทดาวฤกษ์ จำกัด, 2546

Wednesday, January 26, 2011

พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์ในเมืองไทยจ๊ะ

มีอยู่ 2 ที่ครับที่น่าสนใจ
1.  ศาลาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในพระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว) http://emuseum.treasury.go.th/th/home/
ชมการจัดแสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ประกอบด้วย   เครื่องยศ และเงินตราไทย ซึ่งมีประวัติยาวนานสืบทอดมานับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งเป็นมรดกของชาติอันทรงคุณค่ายิ่งทางศิลปวัฒนธรรมไทย รวมทั้งเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เหรียญและของที่ระลึกที่ควรค่าแก่การเก็บสะสม เปิดให้เข้าชมทุกวัน ณ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น. ค่าเข้าชมท่านละ 10 บาท และหากประสงค์เข้าชมเป็นหมู่คณะโดยเว้นค่าเข้าชม กรุณาติดต่อ สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โทร. 02-2260251-9 ต่อ 2209 โทรสาร 02-2259158 E-mail: bnt@treasury.go.th อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน

2.  พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงค์ชาติ) http://www.bot.or.th/Thai/BOTMuseum/Pages/BOTMuseum1.aspx 
ต้องขออนุญาติเข้า
เพิ่มเติมอีกที่นึ่งครับคือพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน http://www.thaibankmuseum.or.th/museum001.php

Modern Marvel - How Money is Made

 ข้อมูลการทำเหรียญและธนาบัตรครับ มันสุดยอดมากครับ เอาลิงก์มาเผื่อคนที่สนใจ ทั้งธนบัตรและเหรียญของสหรัฐอเมริกาครับ มีทั้งหมด  5 ตอน
ตอนที่  1  How Money is Made - Part I ==>>>  http://www.youtube.com/watch?v=_ICXBNynyTU
ตอนที่  2  How Money is Made - Part II ==>>>  http://www.youtube.com/watch?v=SrwQe6XwCXk
ตอนที่  3  How Money is Made - Part III ==>>>  http://www.youtube.com/watch?v=Cr3vvya9c-0
ตอนที่  4  How Money is Made - Part IV ==>>>  http://www.youtube.com/watch?v=mY71cxDZ5tg
ตอนที่  5  How Money is Made - Part V ==>>>  http://www.youtube.com/watch?v=XmICjOlH9Us


thankyou : http://dollarcardmarketing.com - Watch how real money is made from this Modern Marvels series. This is Part 1 of how money is made. These videos, and others, are hosted at www.DollarCardMarketing...

เหรียญดอลล่าร์โครงการออกเป็นชุดประธานาธิบดี USA


เหรียญดอลล่าร์มีโครงการออกเป็นชุดประธานาธิบดี กำหนดออกปีละ 4 ท่านเริ่มตั้งแต่ปีที่ 2007 รายละเอียดด้านล่างเลยคับ


Presidential Dollar Coin Release Schedule

Year   President Years Served Release Date
2007 1 George Washington 1789-1797 February 15
2 John Adams 1797-1801 May 17
3 Thomas Jefferson 1801-1809 August 16
4 James Madison 1809-1817 November 15
2008 5 James Monroe 1817-1825 February 14
6 John Quincy Adams 1825-1829 May 15
7 Andrew Jackson 1829-1837 August 14
8 Martin Van Buren 1837-1841 November 13
2009 9 William Henry Harrison 1841 February 19
10 John Tyler 1841-1845 May 21
11 James K. Polk 1845-1849 August 20
12 Zachary Taylor 1849-1850 November 19
2010 13 Millard Fillmore 1850-1853  
14 Franklin Pierce 1853-1857  
15 James Buchanan 1857-1861  
16 Abraham Lincoln 1861-1865
2011 17 Andrew Johnson 1865-1869  
18 Ulysses S. Grant 1869-1877  
19 Rutherford B. Hayes 1877-1881  
20 James A. Garfield 1881
2012 21 Chester A. Arthur 1881-1885  
22 Grover Cleveland 1885-1889  
23 Benjamin Harrison 1889-1893  
24 Grover Cleveland 1893-1897  
 
2013 25 William McKinley 1897-1901  
26 Theodore Roosevelt 1901-1909  
27 William Howard Taft 1909-1913  
28 Woodrow Wilson 1913-1921
2014 29 Warren Harding 1921-1923  
30 Calvin Coolidge 1923-1929  
31 Herbert Hoover 1929-1933  
32 Franklin D. Roosevelt 1933-1945
2015 33 Harry S. Truman 1945-1953  
34 Dwight D. Eisenhower 1953-1961  
35 John F. Kennedy 1961-1963  
36 Lyndon B. Johnson 1963-1969
2016 37 Richard M. Nixon 1969-1974  
38 Gerald Ford 1974-1977

ถ้าสนใจเป็นเจ้าของดูที่นี่เลยคับ (http://catalog.usmint.gov/webapp/wcs/stores/servlet/CategoryDisplay?langId=-1&storeId=10001&catalogId=10001&identifier=8000&catType=text&catLink=prodPressDollar)

ที่มา : http://www.usmint.gov/mint_programs/$1coin/index.cfm