Tuesday, September 6, 2011

Spain 2 euros 2012 - Burgos Cathedral


New bimetallic circulating commemorative:

"Burgos Cathedral"



The beautiful Cathedral:



SPECIFICATIONS
External ring: CuNi
Center disc: 3 layers, Ni-Brass, Ni, Ni-brass
Diameter: 25.75 mm
Width: 2.20 mm
Weight: 8.50 g

Sunday, August 28, 2011

เงินตราของสยามประเทศ

 
เงินตราของสยามประเทศแต่โบราณ ที่สืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นั้น คือ "เงินพดด้วง" จนสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2378 มีพ่อค้าชาวอังกฤษชื่อ นายฮันเตอร์ (เราเรียกหันแตร) เข้ามาประเทศไทย และได้นำเหรียญแบนทำด้วยทองแดงมาเป็นตัวอย่าง พระองค์จึงทรงริเริ่มให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ทองแดงขึ้นเป็นเงินตราบ้าง โดยมีราคาต่ำกว่าเฟื้อง และใช้แทนเบี้ยซึ่งลดความนิยมลงเรียกกันว่า "เงินแป" หรือ "อัฐทองแดง" แต่ต่อมาไม่โปรดให้ใช้ใน ท้องตลาด

จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงมีนโยบายเปิดประเทศ มีพระราชประสงค์จะรื้อฟื้น "เงินแป" ขึ้นมาใช้เยี่ยงชาติตะวันตก เพราะมีความทนทานและเป็นที่ยอมรับ จึงทรงสั่งซื้อเครื่องจักรจากประเทศอังกฤษ และตั้งโรงกษาปณ์พระราชทานนามว่า "โรงกสาปน์สิทธิการ" ตั้งอยู่หน้าพระคลังมหาสมบัติ 

จากนั้นโปรดให้ผลิตเหรียญแบนขึ้น เป็นเหรียญ ทอง เงิน ตรามงกุฎ และเหรียญเงินตรามงกุฎ พระเต้า และตราจักร เพื่อใช้แทนเงินพดด้วง เหรียญชนิดแรก ด้านหน้าเป็นตราพระมหาพิชัยมงกุฎขนาดด้วยลายช่อดอกไม้ ด้านหลังมีข้อความว่า "กรุงเทพฯ" ส่วน เหรียญชนิดที่สองด้านหน้าบนเป็นตราจักร ด้านซ้ายและด้านขวาเป็นตราพระเต้า ด้านล่างเป็นพระมหาพิชัยมงกุฎ 

ในปี พ.ศ. 2405 โปรดให้ผลิตเหรียญดีบุกที่มีลักษณะกลมแบนเลียนแบบจีนและญวน เรียกว่า "กระแปะ" โดยนำดีบุกมาผสมกับทองแดง ทำให้แข็งกว่าดีบุกธรรมดา ด้านหนึ่งเป็นตราจักรมีรูปช้างอยู่กลาง มีอักษรไทยบอกราคาด้านบน มีตัวเลขและตัวอักษรโรมันบอกราคาอยู่สองฟากข้าง มีอักษรจีนบอกราคาอยู่ด้านล่าง อีกด้านหนึ่งเป็นตรามงกุฎ โดยนำมาใช้แทนเบี้ย

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นยุคที่ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นอารยะ มีการผลิตเหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึกขึ้นมากมาย อาทิ เหรียญทองแดง จปร. เหรียญบาท เหรียญสลึง และเหรียญเฟื้อง, เหรียญทองแดงตราพระรูป (พระบรมรูปครึ่งพระองค์) ด้านหลังเป็นรูป พระสยามเทวาธิราช และเหรียญสตางค์ทองขาวหรือนิกเกิล ร.ศ.116 ด้านหน้าเป็นตราช้างไอราพต เป็นต้น 

ปัจจุบันเหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึกเหล่านี้ ล้วนเป็นที่นิยมสะสม ด้วยคุณค่าแห่งความทรงจำในอดีตจนมาเป็น "เหรียญ" ที่เราใช้หากันอยู่ขณะนี้ครับผม

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง 
โดยราม วัชรประดิษฐ์

Tuesday, August 16, 2011

Baldwin’s Hong Kong Coin Auction 51 Features 1064 Lots of World Coins and Banknotes


Baldwin’s (http://www.baldwin.co.uk/) are celebrating their 25th year holding auctions in the Orient this year and this, the 51st auction for the group, is set to be a sale to remember.
Hu Poo- Silver Pattern 1-Tael, Year 29
Hong Kong Coin Auction 51 Highlight: Silver Pattern 1-Tael, Year 29 of Kuang Hsu, 1903 (Kann 927; L&M 1). Estimate: US$140,000-180,000.
The sale, which will be held on the 25th August at the Holiday Inn Golden Mile, Kowloon, comprises 1064 lots of far eastern and world coins and banknotes, many with exceptional provenance and of extreme rarity.
The Hong Kong Coin Auction group was started in 1986 by B H Lim of Taisei Singapore, Andre de Clermont and Daniel Fearon of Spink, London. Baldwin’s were involved from Auction No 1 as consignors and cataloguers.
Over the years the members of the group, having changed several times and have included an American auction house and a Singapore coin dealer as well as the close co-operation of Japanese and other regional coin specialists.
Silver Pattern Dollar, Hsuan Tung Year 3 (1911)
Hong Kong Coin Auction 51 Highlight: Silver Pattern Dollar, Hsuan Tung Year 3 (1911), long whiskers dragon. (KM Pn40; Kann 223; L&M 28). Estimate: US$55,000-65,000.
Of the 50 auctions to date, twenty-two were held in Singapore, two in Tokyo and twenty-six in Hong Kong. In 1994 Spink broke their link with Taisei and handed the reins over to Baldwin’s. Since then, thirty-two catalogues have carried the Baldwin name on the cover.
"The result of these many years of auctions and the tens of thousands of coins and banknotes sold can be measured by the increased level of numismatic activity surrounding the Hong Kong coin show; where there was only one auction organised during the coin fair, there are now four, three organised by competitors," commented Edward Baldwin, Chairman of A.H. Baldwin & Sons Ltd. "We are very proud of the arena that we have created, one that can only benefit the coin collector and add to the hobby. One thing that has not changed over 25 years is our commitment to numismatics."
In recent years the auctions have mainly been held in wonderful Hong Kong, "The Gateway to China", In the past, however, auctions have also been organised in Japan and Singapore, where the first sales of the series took place. The biannual Hong Kong week has become a major international event devoted primarily to oriental numismatics. The International Coin Convention, which has always been central to the numismatic activity in the Orient, has grown and grown. The organisers now boast in excess of 120 tables and a waiting list of up to 2 years.

Highlights from Baldwin’s Hong Kong Coin Auction 51

The following are a few highlighs from Auction 51:
1 BANKNOTES. CHINA – EMPIRE, GENERAL ISSUES. Ming Dynasty (1366-1644): 1-Kuan, issued by Emperor Hong Wu, made of mulberry paper, 225mm x 343mm (P AA10). One crease in lower left corner, otherwise about as made with perfect border and fabric, an exceptional example of this historical Chinese currency.
Estimate: US$55,000-65,000
184 BANKNOTES. CHINA – MACAU. Banco National Ultramarino: 100-Patacas, 22 July 1919, serial no.23222 (P 9). One Chinese ink character in lower right corner of the reverse, very fine, paper still strong, very rare.
Estimate: US$30,000-35,000
243 COINS. CHINA — ANCIENT. Jin Dynasty (1115-1234 AD): Bronze (Tian Juan Tong Bao), Value 2 in regular script (Ding unlisted). Good very fine, completely unlisted and extremely rare.
Estimate: US$50,000-60,000
298 COINS. CHINA — EMPIRE, GENERAL ISSUES. Hu Poo: Silver Pattern 1-Tael, Year 29 of Kuang Hsu, 1903 (Kann 927; L&M 1). In NGC holder graded SP63, very rare.
ex Dr Norman Jacobs collection, Hong Kong Coin Auction, Baldwin – Ma Tak Wo, August 2008, lot 44
Estimate: US$140,000-180,000
Lots 325 — 342 – A run of Silver pattern Dollars.
343 COINS. CHINA — EMPIRE, GENERAL ISSUES. General Issues: Pattern Silver Mace, Kwan Ping, ND (c.1858), Obv denomination within wreath of tea branches, Rev the Ying-yang symbol at centre, two dragons chasing each other in the outer circle, reeded edge, 20mm, 3.625g (Kann 926II; L&M 598). Rim nick on the reverse, otherwise prooflike mint state, in PCGS holder graded SP62 and exceedingly rare.
ex Farouk collection, Sotheby’s, Cairo (Egypt), 24 February — 3 March 1954 Kann thought these pieces were struck in England by the Royal Mint, London, but this cannot yet be confirmed.
Estimate: US$10,000-15,000
King Farouk of Egypt reigned between 1936 and 1952. During this time he amassed, amongst other collections, one of the largest and most important numismatic collections in history which contained around 8,500 gold and silver coins and medals.
The king was widely condemned for his dishonest and incompetent government and he was overthrown during a military coup in July 1952. Farouk was forced to abdicate and sought exile in Monaco and later Italy, where he remained for the rest of his life. The new radical government moved quickly to auction off his numismatic collection, which included the rare 1933 Double Eagle. They set an auction date of 3rd March 1954 and appointed A.H. Baldwin & Sons Ltd as cataloguers of the collection and Sotheby’s as official auctioneers.
The Farouk collection was famously catalogued by Fred Baldwin in Cairo, with the assistance of his nephew Albert, under military guard and in a very short period of time. Owing to the large volume of coins in the collection and the limited timescale items were sold in large lots, sorted by denomination and with an assortment of dates and mintmarks. The sale, which took place in Cairo, has become legendary in the numismatic world with many modern collectors keen to obtain a piece with such incredible provenance.
388 COINS. CHINA — PROVINCIAL ISSUES. Chihli Province: Silver Tael, Year 33 (1907),, variety with three tiny dots arranged in a straight line on fire-ball on reverse, 37.3g (Kann 938a; KM Y74.2; L&M 438). In PCGS holder graded MS62, very rare.
Estimate: US$120,000-150,000
455 COINS. CHINA — PROVINCIAL ISSUES. Kiangnan Province: Silver 5-, 10-, 20-, 50-Cents and Dollar, CD1900 (KM Y141a, 142a.4, 143a.4, 144a, 145a.4; L&M 236, 235, 234, 232, 229). The 5- and 10-Cents fine, the 20-Cents good very fine, the 50-Cents good fine and rare, the Dollar good extremely fine. (5pcs)
Estimate: US$50,000-60,000
545 COINS. CHINA — PROVINCIAL ISSUES. Kwangtung Province: Silver Dollar, ND (1890-1908) (KM Y203; L&M 133). In NGC holder graded SP64.
Estimate: US$50,000-60,000
691 COINS. CHINA — GENERAL ISSUES. Sun Yat-Sen: Pattern Silver 50-Cents, Year 18 (1929), made in Vienna (Austria), Obv bust left, Rev sailing junk (KM Pn96; Kann 617I; L&M 98). In NGC holder graded MS62, extremely rare. only two pieces retained by the mint, the rest were melted ex Kann collection, March 1972, lot 2061
ex Dr Norman Jacobs collection, Hong Kong Coin Auction, Baldwin – Ma Tak Wo, August 2008, lot 568
Estimate: US$100,000-120,000
876 COINS. CHINA — Fantasy: Gold "25-Taels", 1869, Obv the Tantric God Mahakala seated on lotus flower, two dragons in border, Rev two upright dragons facing beneath fireball, English and Chinese legends around, (Hsin Wei Tung Chi) in centre, "EMPIRE OF CHINA" above, 50mm, 90.85g. Uncirculated.
Estimate: US$15,000-20,000
888 CHINA — MEDALS. Order of the Striped Tiger: Fifth Class Neck Badge, in silver-gilt and enamels, 60mm, awarded to "Dr FSW O’Neill", in original lacquer box (GQL p65). Bright mint state, Order lightly toned, exterior of box distressed
This decoration was awarded to Dr FSW O’Neill. A descendant has written the following note:
"My grandfather FWS O’Neill, went to Manchuria in 1897 as a missionary of the Irish Presbyterian Church, at the age 27. In 1900 he could speak fluent Chinese and was not molested during the Boxer Rising, which aimed at expelling foreign influence. His house was wrecked but later a Chinese dictionary was returned to him.
Again in 1904 he assumed Chinese dress (blue cotton), during the Russo-Japanese war. At one stage he was condemned to death by the Russians. He had blue eyes and did not expect to pass as Chinese.
In 1917 he was attached by the YMCA to the Chinese Labour Corps in France and was awarded the Order of the Striped Tiger on his return to China. From 1928 to 1931 he lived through the taking over of Manchuria by the Japanese and was allowed to continue his work until 1941, when he and his wife were interned in Kobe. They came home in 1942 in an exchange of diplomatic and religious prisoners.
He died in 1952 at the age of 82.’ FWS O’Neill was based in Fakumen, a town of about 15,000 people among foothills about two days walk from Mukden, the chief city of Manchuria, and the same from the Mongolian (indeterminate) frontier. He toured an area about equal to N Ireland taking about a month on foot for each journey. As far as I know the school and church he established in Fakumen still exist and he is still remembered in the area."
Estimate: US$5,000-6,000
908 CHINA — MEDALS. Nye Sze-Chung: Gold Medal, Year 9 (1920) (Kann pl.189; L&M 1122). In NGC holder graded MS62.
Estimate: US$8,000-10,000

About Baldwin’s

Established in 1872 A. H. Baldwin & Sons Ltd (http://www.baldwin.co.uk/) has over 100 years experience in servicing the numismatic industry. Although founded much earlier, the name A.H. Baldwin & Sons didn’t become synonymous with the London numismatic scene until 1901 when Albert Henry set up his first London based premises on Duncannon Street with his eldest son Percy, joined later by his two other sons Fred (legendary cataloguer of King Farouk of Egypt’s coin collection) and Roy.
Baldwin’s auction department was established in 1993 and has grown to hold between ten and twelve sales annually in London, New York, Hong Kong and Dubai and specialize in all areas of Numismatics.

Related Coin News:

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี


 
 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการ ตามอาคารต่างๆ ในบริเวณพระนารายนณ์ราชนิเวศน์ ดังนี้
1. พระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยและแหล่งโบราณคดีจังหวัดลพบุรี โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ภาชนะสำริด เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น ภายในพระที่นั่งแบ่งเป็นห้องต่างๆ ได้แก่
- ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ. 800-1500 รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อถือ หลักฐานที่จัดแสดงได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่าง ๆ
- ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร-ลพบุรี จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นต้น
- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปกรรมที่พบตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ได้แก่ ศิลปะแบบหริภุญไชย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัยลพบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ
- ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 -24 ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้น และไม้แกะสลักต่าง ๆ
- ห้องศิลปร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียนและภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย
- ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2399 ได้แก่ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นพระบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีรูปมงกุฎซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นต้น


2. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ ศาสนวัตถุต่างๆ ในพุทธศตวรรษที่ 19-24


3. หมู่ตึกพระประเทียบ เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องชีวิตไทยภาคกลาง การดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบอาชีพประมง การเกษตร ศิลปหัตกรรมพื้นบ้านของคนไทยในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีที่ใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน


พิพิธภัณฑสถานฯ แห่งนี้ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประจำปี 2545 รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม
เวลาเปิด-ปิด: บริเวณพิพิธภัณฑฯ เปิดให้เข้าชม วันพุธ-อาทิตย์เวลา 9.00-16.00 น.ส่วนโบราณสถานพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เปิดให้เข้าชม วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 07.00-17.30 น.
อัตราค่าเข้าชม: ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3641 1458

พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์


 
วัตถุประสงค์

ตั้งแต่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีเอกสารสำคัญ และเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมาก อันบ่งบอกถึง วิวัฒนาการแห่งความเจริญก้าวหน้า ในระบบการเงินการธนาคารของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน

และด้วยตระหนักถึง คุณค่าของความรู้ อันสืบเนื่องมาจาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของระบบการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่า และเป็นของหายากในปัจจุบัน ธนาคารจึงได้จัดสร้าง “พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย”ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดแสดง สิ่งของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ ด้านการเงินการธนาคารของชาติ สำหรับเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ อันเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งสามารถใช้เป็นที่ค้นคว้าเพิ่มต่อไปได้

ธนาคารได้ทำพิธีเปิด พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยแห่งนี้ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2539 ณ บริเวณชั้น 2 อาคารพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ดำเนินการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550


แผนผังพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย

ส่วนที่ 1 วิวัฒนาการเงินตรา 
ส่วนที่ 2 วิวัฒนาการธนาคาร 
ส่วนที่ 3 ต้นแบบธนาคารไทย
ส่วนที่ 4 ไทยพาณิชย์กับการก้าวสู่ยุคปัจจุบัน 
 
เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900 
โทร. 0-2544-5111, 0-2544-4525-7
โทรสาร 0-2544-4068, 0-2544-2544 
www.thaibankmuseum.or.th 

เวลาเข้าชม

วันจันทร์ - วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
เวลา 10.00 - 17.00 น.
การขอเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย

กรณีชมทั่วไป สามารถเข้ามาเดินชมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

กรณีเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ โปรดโทรศัพท์ติดต่อล่วงหน้า เพื่อตรวจสอบเวลาว่าง ไม่ให้ซ้อนกับคณะอื่นๆ และทำจดหมายส่งไปรษณีย์ หรือส่งโทรสารมาถึง ผู้จัดการบริหารงานพิพิธภัณฑ์ ตามที่อยู่ด้านบน เพื่อพิพิธภัณฑ์จะจัดวิทยากรต้อนรับ และนำชมเป็นหมู่คณะ

http://www.thaibankmuseum.or.th/museum001.php

แผนที่ศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่


 



แผนที่ที่ตั้งศาลาธนารักษ์ 1 จังหวัดเชียงใหม่
เลขที่ 52 ถ.ราชดำเนิน ใกล้สี่แยกกลางเวียง ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 

โรงกษาปณ์หลวงแคนาดาได้รับเลือกให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ของนิวซีแลนด์


โรงกษาปณ์หลวงแคนาดามีความยินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่า ทางโรงกษาปณ์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ผลิตเหรียญมูลค่าต่ำแบบใหม่ของนิวซีแลนด์ที่โรงงานปั๊มเหรียญของบริษัทที่เมืองวินนิเปก
"การที่โรงกษาปณ์หลวงแคนาดาได้รับสัญญาว่าจ้างจากต่างประเทศนั้น สะท้อนให้เห็นถึงชื่อเสียงของเราในการผลิตที่มีคุณภาพสูง" เดวิด ซี. ดิงวอล ซีอีโอและประธานกล่าว "ด้วยการผลิตเหรียญมูลค่าต่ำที่มีคุณภาพสูงให้แก่นิวซีแลนด์ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในอุตสาหกรรมการจำหน่ายแบบยอดเหรียญ เราจะแสดงให้เห็นว่าเราเป็นหนึ่งในโรงกษาปณ์แห่งนวัตกรรมที่มีความทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก"
ช่วงก่อนหน้าในปีนี้   ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ได้ประกาศถึงการตัดสินใจที่จะปรับรูปโฉมใหม่ให้กับเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบันของนิวซีแลนด์ แผนการดังกล่าวรวมถึงการลดขนาดเหรียญมูลค่า 50, 20, 10 เซนต์ ให้มีขนาดเล็กลง และเหรียญที่มีมูลค่าต่ำกว่านั้นให้มีน้ำหนักเบาลง
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์มีแผนที่จะออกเหรียญใหม่ในเดือนกรกฎาคม 2549
โรงงานปั๊มเหรียญที่เมืองวินิเปกของโรงกษาปณ์หลวงแคนาดามีความทันสมัยที่สุดในโลก โดยโรงงานและช่างเทคนิคที่มีทักษะจะนำเสนอการพิมพ์ลายเหรียญที่ดีเยี่ยมสำหรับเหรียญกษาปณ์และเหรียญเปล่าซึ่งผู้ผลิตเหรียญนำไปใช้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผ่านการเคลือบโลหะด้วยกระบวนการอิเล็กทรอโลซิส (electroplateing process) ที่จดสิทธิบัตรและมีหนึ่งเดียว
โรงกษาปณ์หลวงแคนาดาได้ผลิตเหรียญของแคนาดากว่า 1 พันล้านเหรียญต่อปี นอกจากนี้ บริษัทยังได้แข่งขันกับโรงกษาปณ์อื่นๆ เพื่อชิงสัญญาในต่างประเทศ และได้ผลิตเหรียญและเหรียญกษาปณ์กึ่งสำเร็จรูปให้กว่า 60 ประเทศในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา
โรงกษาปณ์หลวงแคนาดาซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับ ISO- 9001-2000 อยู่ในความรับผิดชอบของคราวน์ คอร์ปอเรชั่นในการผลิตเหรียญกษาปณ์และการกระจายการหมุนเวียนของเหรียญกษาปณ์ของแคนาดา ในการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2523 นั้น เดอะ รอยัล แคนาเดียน มินท์ ได้รับการยอมรับว่าเป็น หนึ่งในโรงกษาปณ์ที่ใหญ่ที่สุดและอเนกประสงค์ที่สุดในโลก ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เหรีญกษาปณ์คุณภาพสูงและการบริการที่เกี่ยวข้องในระดับสากล หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเดอะ รอยัล แคนาเดียน มินท์, ผลิตภัณฑ์ และการบริการของบริษัท สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.mint.ca

ติดต่อ: คริสทีน อาควิโน่
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการสื่อสารองค์กร
โทร: (613) 993 9999
โทร: (613) 991 5342
ที่มา: รอยัล แคนาเดียน มินท์
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--

เหรียญตัวติด....คำ ๆ นี้คืออะไร


คงมีนักสะสมมือใหม่จำนวนไม่น้อยนะครับ ที่สงสัยกันว่า "เหรียญตัวติด...." เนี่ยมันคืออะไร Innocent  เพื่อไม่ให้เสียเวลานะครับ เข้าเรื่องเลยแย้วกัน
ตัวติด" หมายถึง เหรียญที่หายากของชุดเหรียญนั้น ๆ อาจจะเนื่องมาจาก จำนวนที่ผลิตน้อย/มีความต้องการที่สูง ยกตัวอย่างเช่น
-  ร.5  เหรียญบาทหนึ่งพระบรมรูป-ตราแผ่นดิน ตัวติดคือ เหรียญ รศ.120 , รศ.126
-  ร.6  เหรียญหนึ่งบาท ตัวติดคือ พศ. 2461
-  ชุดเหรียญ 10 บาท นิเกิ้ล ตัวติดก็คือ เหรียญต้นไม้แห่งชาติ ปี 2528
-  ชุดเหรียญ 10 บาท สองสี(หมุนเวียน)  ตัวติดก็คือ เหรียญ10 บาทสองสี ปี 2531(ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียน) , 2533(ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียน)
ยังมีอีกมากมายในแต่ละชุด คร่าว ๆ พอนะครับ

เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย เกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์


เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย เกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์
รูปทรงของเหรียญ
1. รูปทรงของเหรียญ มีเพียงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท ปี 2515 เพียงเหรียญเดียวที่เป็น9 เหลี่ยม  
    นอกนั้นกลมหมด
2. ขอบเหรียญ มี 4 แบบ
    2.1 มีเฟือง ขอบเหรียญกษาปณ์ส่วนใหญ่มีเฟือง
    2.2 เรียบ เหรียญกษาปณ์ต่อไปนี้มีขอบเรียบ- เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 และ 10 สตางค์ ปี 2493 และ
          ปี 2500- เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 25 สตางค์ ปี 2520- เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน50 สตางค์ ปี
          2523- เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท เก้าเหลี่ยม ปี 2515- 100 ปี พิพิธภัณฑ์ฯ 50 บาท ปี 2517-
          เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ทรงสำเร็จการศึกษา เกษตรฯ 2 บาท ปี 2522
     2.3 เรียบ แต่มีข้อความอยู่ที่ขอบเหรียญด้วย- เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท ครุฑเฉียง ปี 2520 และ
           2522 มีข้อความ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง อยู่ที่ขอบเหรียญด้วย
     2.4 เฟืองสลับเรียบ- เหรียญ 10 บาท โลหะสองสี ทุกแบบ- เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 2บาท ปี 2548 -
           2549
3 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกที่ด้านหน้ากับด้านหลังหันหัวกลับกัน(Verticle Flip)- เสด็จนิวัตฯ 1 บาท ปี 2504-
    พระชนมายุ 3 รอบ 1 บาท และ 20 บาท ปี 2506- เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ปี 2509-เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 6 ปี
    2513- ครองราชย์ 25 ปี 10 บาท ปี 2514
4 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกวาระเดียวกันแต่ราคาหน้าเหรียญต่างกัน มีลวดลายบนเหรียญต่างกัน-พระชนมายุ
    3 รอบ 1 บาท และ 20 บาท ปี 2506- FAO 1 บาท และ 150 บาท ปี 2520
5 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกวาระเดียวกันราคาหน้าเหรียญเท่ากัน มีลวดลายบนเหรียญต่างกัน- พระชนมายุ
   50 พรรษา 5 บาท ปี 2520 สยามินทร์ - ประเทศไทย
6 เหรียญกษาปณ์ที่ไม่ระบุปีบนเหรียญ- พระชนมายุ 3 รอบ 1 บาท และ 20 บาท ปี 2506
7 เหรียญที่มีอักษร Braille สำหรับคนตาบอดอยู่บนเหรียญ- เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 10 บาท โลหะสองสี
8 เหรียญที่มีรัชการที่ 9 และบุคคลสำคัญพระองค์อื่นอยู่บนหน้าเหรียญ แต่รัชการลที่ 9 ไม่ได้อยู่หน้าสุด-
   FAO 1 บาท และ 150 บาท ปี 2520- 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2535- 84 ปี จุฬาฯ ปี 2544- 90 ปี
   วชิรพยาบาล ปี 2545
9 เหรียญที่มีประชาชนทั่วไปอยู่บนหน้าเหรียญ- เฉลิมพระเกียรติในการทรงนำชนบทให้วัฒนา ปี2530-
    รางวัลแมกไซไซฯ ปี 2534
10 เหรียญที่เรียบที่สุด- ด้านหน้า 33 rd Annual Meeting of the Board of Governors ADB ปี
    2000(2543)สังเกตว่านอกจากพระบรมรูปในหลวง แล้วไม่มีเครื่องหมายหรือลวดลายอย่างอื่นเลย-
   ด้านหลัง 72 ปี การสหกรณ์แห่งชาติ ปี 2531สังเกตว่านอกจากข้อความบอกวาระแล้วไม่มีลวดลายใด ๆ
   เลย
11 อันนี้ต้องช่วยกันดูครับ เหรียญกษาปณ์ 10 บาท โลหะสองสี ส่วนที่เป็นโลหะสีทองถ้าเป็นเหรียญ
    กษาปณ์ที่ระลึกทุกแบบ และเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ปี 2532 โลหะสีทองไม่มีขอบแต่เหรียญกษาปณ์
    หมุนเวียน ปี 2534 - 2549 จะมีขอบ
12 เหรียญที่แม่เหล็กดูดติดคือ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ราคา 2 บาท (ความคิดของคุณนิคมครับ)
13 เหรียญที่มีพระบรมรูปในหลวงอยู่ด้านหลังของเหรียญด้วยคือเหรียญเฉลิมพระเกียรติในการพัฒนา
     อย่างยั่งยืนฯ(AGRICOLA) ปี 2538
14 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดไม่ขัดเงาราคาหน้าเหรียญ 200 บาท มีเพียงเหรียญเดียวคือเหรียญสมโภช
     เดือนฯ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
จากคุณ : นายเชิดศักดิ์ ยอดสกุลทิพย์ [เลขที่สมาชิก 00000000234] - [ 14 ตุลาคม 2549 9:08 น. ]

 ความคิดเห็นที่ 6 ขอเพิ่มเติมกระทู้นี้นะครับ คุณเชิดศักดิ์เป็นคนช่างสังเกตุมาก สามารถเก็บรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วจำแนกออกมาได้อย่างเป็นระบบลักษณะทางกายภาพหลายอย่างของเหรียญนั้น ไม่สามารถตรวจสอบได้เลย ถ้าเราไม่มีเหรียญนั้นอยู่ในมือ (แต่ควรจะรู้ไว้เพื่อตรวจสอบเหรียญปลอม) ได้แก่
1.ขอบของเหรียญ ซึ่งในคู่มือก็ไม่ได้บอกไว้ว่ามีลักษณะอย่างไร (ผมได้ข้อสรุปสำหรับผู้สะสมเหรียญว่าเหรียญมี 3 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านขอบ คู่มือเหรียญส่วนใหญ่จะแสดงเฉพาะด้านหน้า-หลังเท่านั้น)
2. พลิกแนวไหน ผมจำได้ว่าคุณเชิดศักดิ์เคยตั้งปัญหาเกี่ยวกับเหรียญขึ้นมาให้ทายกัน แล้วผมก็เขียนไว้ว่า จะ list เหรียญที่มีลักษณะพลิกในแนวตั้ง (มีไม่มากนัก) มาให้ทราบ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ ยังมีอีกหลายเหรียญที่ผมยังไม่เคยแตะ อย่างพวกเหรียญเด็กลอยกระทง, มังกร 2000,อนุรักษ์ธรรมชาติ ที่ด้านหลังเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ มีทั้ง ช้าง เสือ นกนางแอ่น ฯลฯ นี่เป็นลักษณะทางกายภาพของเหรียญอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนมองข้าม
3. แม่เหล็กดูดติด เมื่อก่อนตอนเด็ก ๆ ผมก็เคยลองเอาแม่เหล็กมาดูดเหรียญหมุนเวียนทั่ว ๆ ไปดู พบว่ามันดูดไม่ติด ก็เลยเหมาเอาว่า เหรียญทั่ว ๆ ไปนั้นแม่เหล็กดูดไม่ติด แต่ผิดถนัดเลย เพราะตามที่คุณเชิดศักดิ์บอกไว้ในข้อ 12 (เอามาจากคุณนิคมอีกที) ว่าเหรียญ 2 บาท รุ่นภูเขาทองนั้นแม่เหล็กดูดติด จริงครับ ขอยืนยัน และผมได้ลองเอามาดูดเหรียญอื่น ๆ ดู พบว่ายังมีเหรียญอื่นอีกมากที่แม่เหล็กดูดติด แปลว่าที่เมื่อก่อนผมคิดเหมาเอาเองนั้นผิดถนัดไปมากจนทำให้ผมแปลกใจ นอกจากนี้ยังมีระดับของการดูดติดตั้งแต่ มาก ปานกลาง และน้อยด้วย
-  เหรียญที่แม่เหล็กดูดติดได้มาก (คือเอามือจับแม่เหล็กดูดเหรียญยกขึ้นได้) ได้แก่ เหรียญนืเกิล10 บาทตั้งแต่เหรียญพระบรมฯ อภิเษก ไปจนถึง เหรียญ 72 ปีจุฬา รวม 23 เหรียญ
-  เหรียญที่แม่เหล็กดูตดิตได้ปานกลาง (ก็ยังยกขึ้นได้ แต่แรงดูดจะน้อยกว่ากลุ่มแรก) คือเหรียญบ้านใหญ่ ไปจนถึงเหรียญ สมมงคล 64 พรรษา รวม 12 เหรียญ
-  เหรียญที่แม่เหล็กดูดไม่ติดเลย ได้แก่เหรียญ 60 ปีรัฐสภาเป็นต้นไป เข้าใจว่ามีมาก รวมไปถึงเหรียญนิเกิล 20 ทั้งหมดด้วยความแตกต่างทั้งหมดนี้ผมเข้าใจว่าเกิดจากส่วนผสมของโลหะที่นำมาทำเป็นเหรียญ คงต้องกลับไปทบทวนวิชาฟิสิกส์ดูว่าโลหะเหล่านั้นมีคุณสมบัติพิเศษอย่างไรว่าง ๆ ลองหาแม่เหล็กไปดูดเหรียญดูบ้างนะครับ
จากคุณ : กอบกิจ กิตติโสภากูร [เลขที่สมาชิก 00000000191] - [ 27 ตุลาคม 2549 0:39 น. ]

Monday, August 15, 2011

บันทึกจากอดีต...เหรียญกษาปณ์ของไทย


จากหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การใช้เงินตราของประเทศไทยพบว่า การแลกเปลี่ยนแต่เดิมนั้นใช้เงินตราจำพวกเหรียญฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย เงินล้านนา เงินล้านช้าง ต่อจากนั้นเริ่มพัฒนามาเป็น เงินพดด้วง ซึ่งเป็นเงินตราของไทยที่ถือเป็นเอกลักษณ์ และใช้กันเรื่อยมานานกว่าหกศตวรรษ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์  

จวบจนในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปเงินตราไทยจากที่เคยใช้เงินพดด้วงหรือเงินกลมที่ใช้มาแต่โบราณกาลเปลี่ยนมาใช้เงินเหรียญหรือเงินแบน แบบประเทศทางตะวันตก โดยโปรดเกล้าฯ ให้ประเทศไทยใช้เงินเหรียญนอกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2399 และทรงสร้างโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้ พระราชทานชื่อว่า โรงกษาปณ์สิทธิการ ตั้งอยู่หน้าพระคลังมหาสมบัติ มุมถนนออกประตูสุวภาพบริบาลด้านตะวันออก พร้อมทั้งทรงสั่งเครื่องทำเหรียญกษาปณ์ประเทศจากอังกฤษมาผลิตเหรียญกษาปณ์ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2403 โดยผลิตเหรียญบาท เหรียญสองสลึง เหรียญสลึง และเหรียญเฟื้อง 

ในปี พ.ศ.2405 ได้มีประกาศให้ใช้กะแปะอัฐและโสฬสขึ้นใหม่ ด้วยว่าสมัยโบราณไทย และลาวใช้หอยชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ย ใช้แทนเงินปลีก โดยกะแปะอัฐคิดอัตรา 8 อัฐต่อเฟื้อง และโสฬสคิดอัตรา 16 โสฬสต่อเฟื้อง โดยไม่ลดหย่อนแม้เนื้อโลหะที่ทำจะสึกกร่อนไปเพราะการใช้งาน แต่ถ้าเนื้อโลหะขาดบิ่น มูลค่าจะลดลงตามน้ำหนักที่หายไป ส่วนเบี้ยหอยได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เบี้ยดีบุกและเบี้ยทองแดงแทน 

เหรียญทองชิ้นแรก สร้างจากโรงกษาปณ์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประทับตราจักรทุกมุม น้ำหนัก 20 บาท ทำด้วยทองคำเนื้อดี ตามมูลค่าทองคำหนัก 1 บาท เท่ากับเงิน 16 บาท เหรียญนี้จึงมีมูลค่า 320 บาท จากนั้นก็มีเหรียญทองแปทศ ทองแปพิศ และทองแปพัดดึงส์ ทำจากเนื้อทอง เหรียญมงกุฎ เหรียญบรรณาการ กะแปะดีบุก ที่มีลักษณะเดียวกับเหรียญทองต่างกันที่ลวดลายและทำจากทองแดง 

เหรียญกษาปณ์ รัชกาลที่ 5 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2411 - 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้มีการสร้างเหรียญเงิน ดีบุก ทองแดง และนิเกิล อีกหลายชนิด มี 3 ราคา คือ 1 บาท 1 สลึง และ 1 เฟื้อง เรียกกันว่าเหรียญตราพระเกี้ยว และมีกะแปะดีบุกตราพระเกี้ยว เหรียญเงินรัชกาลที่ 5 ตราแผ่นดิน มีชนิดราคาเดียวกัน คือ 1 บาท เช่นเดียวกับ เหรียญบาทจุฬาลงกรณ์สยามมินทร์ ทำจากประเทศฝรั่งเศส และได้ยกเลิกการใช้เหรียญนอกที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ 

เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ 7 สร้างระหว่างปี พ.ศ.2468 - 2472 มีเหรียญเงิน ชนิดราคา 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ สตางค์ทองขาว ชนิดราคา 5 สตางค์ และสตางค์ทองแดงราคา 1 สตางค์ 

เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ 8 มีการสร้างเหรียญทองแดงชนิดราคาครึ่งสตางค์เป็นครั้งแรก และสร้างเหรียญ 50 สตางค์ 25 สตางค์ 20 สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ด้วยดีบุก คนทั่วไปเรียกเหรียญชนิดหัวโต ต่อมาในปี พ.ศ.2489 ได้สร้างสตางค์ราคา 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ด้วยนิเกิล และสร้างสตางค์ชนิดราคา 20สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ ด้วยเงิน เมื่อ ปี พ.ศ.2478 และ 2480 ในปี พ.ศ.2484 สร้างสตางค์ชนิดราคา 1 สตางค์ และ ครึ่งสตางค์ ด้วยทองแดง 

สตางค์ดีบุกรัชกาลที่ 8 มีลักษณะเช่นเดียวกับสตางค์เงินรัชกาลที่แปด ขนาดเล็ก และไม่มีรู สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านพากันกล่าวว่า "สตางค์ไม่มีรู ศัตรูไม่มีรัง สตางค์ออกใหม่น่าใช้น่าดู" นับว่าเป็นสตางค์ที่ไม่มีรูครั้งแรก เป็นของแปลกสำหรับสมัยนั้น แต่จากนั้นก็ไม่ได้พบเหรียญกษาปณ์ในราคา 1 สตางค์อีก เพราะค่าเงินได้ตกต่ำลงไปตามลำดับ 

เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ 9 เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2500 ชนิดราคา 1 บาท ทำด้วยนิเกิล ต่อมาสร้างเมื่อปี พ.ศ.2504 ในโอกาสเสด็จนิวัตพระนคร ในปี พ.ศ.2505 และ ปี พ.ศ.2506 ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 3 รอบ สร้างเหรียญเงิน ชนิดราคา 20 บาท ในโอกาสเดียวกัน จากนั้นก็มีการสร้างเหรียญโลหะสีทอง สีนากและสีเงิน รัชกาลที่เก้า โดยจัดสร้างในวาระต่าง ๆ และพัฒนามาเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้กันใน

ที่มา : ข้อมูลจาก:http://www.heritage.thaigov.net ,http://www.bu.ac.th/NewsandInform/bunews/2546/Feb23/history.html


ศักราชของไทย และมาตราเงินไทย


การเทียบศักราช

พ.ศ. = จ.ศ. + 1181

พ.ศ. = ร.ศ. + 2324

พ.ศ. = ค.ศ. + 543


มาตราเงินไทยก่อนมีการผลิตเหรียญกษาปณ์

50 เบี้ย = 1 กล่อม

2 กล่อม = 1 กล่ำ

2 กล่ำ = 1 ไพ

4 ไพ = 1 เฟื้อง

2 เฟื้อง = 1 สลึง

4 สลึง = 1 บาท

4 บาท = 1 ตำลึง

20 ตำลึง = 1 ชั่ง


มาตราเงินไทยก่อนมี พระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ. 127 

50 เบี้ย = 1 โสฬส

2 โสฬส = 1 อัฐ

2 อัฐ = 1 เสี้ยว

2 เสี้ยว = 1 ซีก

2 ซีก = 1 เฟื้อง

2 เฟื้อง = 1 สลึง

4 สลึง = 1 บาท

10 สลึง = 1 ทองพัดดึงส์

4 บาท = 1 ทองพิศ

8 บาท = 1 ทองทศ

80 บาท = 1 ชั่ง


มาตราเงินไทยปัจจุบัน

100 สตางค์ = 1 บาท

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ที่มา: หนังสือเหรียญกษาปณ์ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 - 2525 โดย กรมธนารักษ์ และ

http://coins.thport.com/

Free Trial of PCGS Mobile CoinFacts Available


PCGS Mobile CoinFacts (m.pcgscoinfacts.com), a new application that lets smart phone users instantly access all the historical numismatic information and crystal-clear coin images from the extensive PCGS CoinFacts™ database, will be available free to everyone for a ten-day trial period, August 12 – 21, 2011.
PCGS Mobile CoinFacts on a smart phone
PCGS Mobile CoinFacts on a smart phone. (Click image to enlarge it.)
After that, this indispensable app will then be available free only for those with a PCGS CoinFacts subscription.
"This is the coolest piece of software we’ve ever done," declared Don Willis, President of Professional Coin Grading Service (www.PCGS.com), a division of Collectors Universe, Inc. (NASDAQ: CLCT). "It’s a revolutionary breakthrough for collectors and dealers, and I’m really excited about this!"
PCGS CoinFacts (www.pcgscoinfacts.com) is the Internet’s most comprehensive source for information for over 30,000 United States coins, including current prices, auction records, population and images. All the information and photos hosted on the PCGS CoinFacts website are now immediately available to subscribers on any smart phone, and accessible anywhere the phone works.
"Imagine being at a coin show or an auction and being able to instantly look up coin pricing information, population data and recent auction prices realized about the coin you’re thinking about buying. Of course, this app will be helpful when selling coins as well. We’ve tried to make this as easy to use as possible," said Willis.
PCGS Mobile CoinFacts will be introduced by PCGS at the American Numismatic Association Chicago World’s Fair of Money, August 16 – 20, 2011. A Beta version of the app will be available free at m.pcgscoinfacts.com for anyone with a smart phone to personally sample between August 12 and 21. Additional information will be available at the PCGS booth, #400, during the convention.
"When you’re buying or selling coins, the person with the most current information is usually the one who’s most successful. Now you can get essential, up-to-date information from PCGS CoinFacts with just a few clicks on any smart phone," said Willis.

About PCGS

Professional Coin Grading ServiceProfessional Coin Grading Service (PCGS) is a division of Collectors Universe, Inc. (NASDAQ: CLCT), the leader in third-party authentication and grading services for high-value collectibles including rare coins, trading cards, tickets, autographs, memorabilia and stamps.
Since 1986, PCGS experts have authenticated, graded and certified more than 20 million coins from around the world with a declared value of over $20 billion.
For additional information, visit www.PCGS.com or call PCGS Customer Service at (800) 447-8848.
Related Coin News:

การจำแนกประเภทของเหรียญ

1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ผลิตออกใช้สำหรับประชาชนได้มีไว้จับจ่ายใช้สอยเป็นเงินปลีกย่อยผลิตออกมาใช้ตามระบบ      
    เศรษฐกิจ สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันมี 8 ชนิดราคา คือ 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 
    บาท 5 บาท 10 บาท เปลี่ยนศักราชบนหน้าเหรียญตามปีที่ผลิต 
2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ที่ผลิตขึ้นเป็นครั้งคราวในโอกาสพิเศษที่สำคัญที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์พระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง และองค์การระหว่างประเทศเพื่อเป็นเกียรติยศชื่อเสียงและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ผลิตเป็นครั้งคราวและมีจำนวนจำกัด มักจะผลิตด้วยโลหะที่มีค่าสูง เช่น ทองคำ เงิน กษาปณ์ที่ระลึกใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับกษาปณ์หมุนเวียน แต่ประชาชนมักจะนิยมเก็บไว้เป็นที่ระลึกอย่างของมีค่าหรือเพื่อการสะสม 
3. เหรียญที่ระลึก ตามความหมายสากลหมายถึงเหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกหรือเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ที่สำคัญของบ้านเมืองในระยะเวลานั้น ๆ โดยมีสัญญลักษณ์หรือการจำลองภาพของเหตุการณ์สำคัญนั้นๆ ลงไว้พร้อมกับคำจารึกและเวลาที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นสำหรับเหรียญที่ระลึกของไทยนั้นสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์พระมหากษัตริย์พระราชวงศ์และประวัติศาสตร์ของประเทศ เหรียญที่ระลึกเท่าที่ปรากฎ พอจะแบ่งออกได้เป็นประเภทต่างๆ ตามความมุ่งหมายของผู้สร้างดังนี้:
       3.1 เกี่ยวกับพระมหากษตริย์   งานบรมราชาภิเษก ,  งานเฉลิมพระชนม์พรรษา ,  พระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีลงสรงสนาน ,  เฉลิมพระสุพรรณบัฐ งานเฉลิมพระที่นั่งสำคัญ , งานพระบรมศพ 
       3.2  เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญคงอนุโลมตามข้อ 1. เช่น วันประสูติ พิธีสถาปนาพระอิสริยยศ วันสิ้นพระชนม์ ฯลฯ
       3.3  ที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ
                  3.3.1 การสมโภชพระนครครบรอบ 100 ปี 150 ปี 200 ปี
                  3.3.2 การเปิดหอพระสมุด อนุสาวรีย์ ฯลฯ
                  3.3.3 การแสดงนิทรรศการ การเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ
                  3.3.4 รางวัล
4. เหรียญราชอิสริยาภรณ์ ที่นับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เรียกอย่างลำลอง ว่า เหรียญแพรแถบ) หมายถึง เหรียญต่างๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่บุคคลต่างๆ ได้แก่ ข้าราชบริพาร ข้าราชการ ทหารที่ออกศึกสงคราม และสำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญต่างๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามที่ทางราชการกำหนด เหรียญราชอิสริยาภรณ์นี้แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้ 
        4.1  เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสงคราม หรือพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในความกล้าหาญ 
        4.2  เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน                                                                                  
        4.3  เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์                      
        4.4  เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก

ที่มา : http://www.thaimedals.com/web/knw.php

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔(เหรียญคิวโปรนิกเกิล)



ด้านหน้า
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และสายสร้อยจุลจอมเกล้า และประดับดาราจักรี ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ ๙"
 

ด้านหลัง
กลางเหรียญมีรูปตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เบื้องล่างตราสัญลักษณ์มีข้อความบอกราคาว่า "๕๐" บาท ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีลายช่อเปลวลอยคั่นข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่างทั้สองข้าง

  
ข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำหนัก : 21 กรัม
ราคา ณ วันประกาศใช้ : 50 บาท
วันที่ประกาศใช้ : -
เส้นผ่าศูนย์กลาง : 36  มิลลิเมตร
________________________________________
ชนิด : โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล)
ราคาหน้าเหรียญ : 50 บาท
ประเภท : ธรรมดา
ลักษณะ : เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
________________________________________
ส่วนผสม :
จำนวนการผลิต :
ชื่อส่วนผสม ร้อยละ
นิกเกิล 25
ทองแดง 75
ปีที่ผลิต จำนวน
2554 จำนวนผลิตไม่เกิน 3,000,000 เหรียญ
________________________________________
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายทัศวงศ์ โยเซฟ

ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายทรงวุฒิ คงวัน

Thursday, January 27, 2011

วิธีล้างเหรียญเงินที่มีสนิมสีเขียวจ๊ะ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักสะสมเหรียญมือใหม่นะครับ.......อ่านเจอมาอีกแล้วเลยเอามาฝากครับ   เข้าเรื่องเลยแล้วกัน
สนิมเขียวที่ว่า กินเข้าไปในเนื้อเหรียญหรือไม่ หากไม่กิน ไม่แนะนำให้ล้างครับ เพราะจะทำให้เสียผิวเดิมของเหรียญไปครับ โดยเฉพาะเหรียญที่ทำปฏิกิริยากับอากาศนานๆ จนมีสีที่แสดงถึงความเก่าแก่ อันเป็นที่นิยมมากในยุโรป และอเมริกา อย่างไรก็ตามเหรียญที่สกปรกมากๆ อาจทำความสะอาดได้ โดยล้างอย่างระมัดระวัง ในน้ำสบู่ โดยใช้แปลงขนอ่อนปัดเบาๆ ห้ามแช่ในน้ำกรด ส้ม มะขาม หรือมะนาวเด็ดขาด นอกจากนั้น เดี๋ยวนี้มีน้ำยาล้างเหรียญเงินขาย ที่มีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง ทั้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ จึงต้องระมัดระวัง ทั้งไม่แช่นานเกินไป จนผิวถูกกัดกร่อน ควรใช้น้ำยานี้ทำความสะอาจเหรียญที่สกปรกมาก ๆ เท่านั้น ไม่ควรใช้กับเหรียญดีผิวเดิม 
หากดำมากจนขึ้นคราบเหนียวดำๆ เพราะเก็บไว้ในอัลบัมนานจนเหนียวและดำ วิธีล้างให้ง่ายและประหยัดใช้สารโซเดียมไบคาร์บอเน็ต หรือที่เรียกว่า เบ็คกิ่งโซดา 
ซื้อได้ที่ร้านขายยาทั่วไป ราคาปอนด์หนึ่ง 30 กว่าบาท ลักษณะเป็นผงเหมือนเกลือ 
ผสมน้ำในถ้วยแล้วล้างเหรียญขัดด้วยมือเบา ๆ จะขาวใสอยู่ได้นานอีกเป็นสิบปีครับ

ที่มาคับ : http://www.cokethai.com/board/viewtopic.php?t=5916

สุดยอด ความรู้เรื่อง ตัวติดเหรียญ 10 บาทสองสี ปี 2533

 
          ขลุกขลักเล็กน้อยครับกว่าจะหาเหรียญเจอว่าเจ้าเหรียญนี้ไปซุกซ่อนอยู่ตรงไหน กว่าจะถ่ายรูปอย่างทุลักทุเลเพราะอุปกรณ์บางอย่างหาไม่เจอภาพเลยออกมาไม่ค่อยจะดี
อ่านกันเพลินๆเผื่อจะได้ข้อคิดในการหาซื้อเหรียญ ความตั้งใจอยากจะให้สมาชิกเข้ามาต่อยอด มีเหรียญอะไรที่มาที่ไปเป็นแบบไหนโพสท์กันเข้ามาแบบสนุกๆไม่ซีเรียส
เจ้าเหรียญ 10 บาทสองสีปี 2533 นี่เขาว่าหายากเพราะผลิตเพียง 100 เหรียญ ให้ผู้ใหญ่เอาไปแจกที่ต่างประเทศซะหลายสิบเหรียญที่เหลือกลับมาเมืองไทยก็ไม่รู้ว่าตก
อยู่กับใครบ้าง
          เหรียญนี้ได้มาตั้งแต่ปี 2538 โน่นแน่ะครับ ร้านขายเหรียญโทรมาบอกว่า “มีเหรียญสิบบาทปี 2533 เอาไหม ถ้าจะดูรีบมาเลย”อ้ายผมส่วนใหญ่หนักไปทาง
เหรียญเก่าๆยังงงอยู่นิดๆ เอ้าไปดูก็ไปดู “ผลิตน้อยนะแค่ร้อยเหรียญ ผมลืมเอาสำเนาคำสั่งผลิตมาให้ดู วันหลังจะเอามาให้ดูเขาผลิตร้อยเดียวจริงๆไม่โกหก” ผมหยิบ
เหรียญมาส่องดูแล้วถามว่า “ตีไว้เท่าไหร่เฮีย” “เหรียญนี้แสนห้าครับ”ผมฟังแล้วสะดุ้งเหรียญเกือบหล่นจากมือ “โอ้โฮ !เหรียญใหม่ๆอย่างนี้นะตั้งแสนห้าเก็บเหรียญ
เก่าได้อีกอื้อเลย”ผมวางเหรียญลง “ไม่แพงครับกว่าผมจะได้มาผ่านตั้งหลายด่านถ้าพี่ว่าแพงผมมีอีกเหรียญถูกกว่าครับ” เจ้าของร้านหันกลับไปล้วงเอาสมุดเก็บเหรียญคู่
ชีวิตออกมาพลิกและหยิบอีกเหรียญส่งให้ “อ้าวเหรียญนี้ใครมันดันตอกตัว T ไว้ที่เหรียญทำไม” ผมซักต่อ “อ๋อ มันเป็นเหรียญลองพิมพ์ เขาว่ามีห้าเหรียญ ผมได้มา
เหรียญเดียว” ผมส่องดูอยู่นานกับเจ้าเครื่องหมายตัว T (น่าจะย่อมาจาก Test)ขนาดเกือบใหญ่ที่อยู่บนพื้นทองเหลือง “แล้วเหรียญนี้เท่าไหร่”ผมแกล้งแหย่ต่อ
“แสนถ้วนครับ” เจ้าของตอบด้วยความหวังว่าน่าจะโดนใจผมสักเหรียญ “ไม่มีเงินค่ะ ช่วงนี้ซื้อของไปเยอะแล้ว”ผมตอบแบบวัดดวง “ไม่เป็นไร เมื่อไหร่ก็ได้ เอาไปเก็บ
ไว้ก่อน หาไม่ได้แล้วนะ”เจ้าของร้านชักเสียงอ่อนลง “อย่าให้มันถึงแสนห้าเลยแค่แสนสองก็พอแล้ว ไม่รู้ว่ามันร้อยเหรียญจริงหรือเปล่าถ้าดันมีออกมามากๆก็จบกัน”
เจ้าของร้านพยายามยื้อราคาขึ้นผมเลยรีบตัดบท “จะรีบไปแล้วถ้าได้ก็ส่งมาเลย”แล้วผมก็ไม่พูดมากหยิบเหรียญใส่กระเป๋าเสื้อเดินออกมาแล้วหันไปสำทับว่า “แล้วจะโอน
เงินไปให้” ผมเดินออกมาด้วยความงงว่าตูข้าคิดผิดหรือคิดถูกที่ดันไปเอาเหรียญนี้มารู้อยู่แล้วว่าหายากแต่กลัวจะผิดราคา อย่ากระนั้นเลยผมรีบเดินไปอีกร้านหนึ่งซึ่งอยู่ไม่
ไกลกันมากนัก “เออ อ้ายเหรียญสิบบาทปี 2533 เขาเล่นกันเท่าไหร่วะ ” เจ้าของร้านใหม่หันมามองหน้าผมอย่างแปลกใจ “ อ้าวเล่นเหรียญใหม่แล้วรึ เห็นเมื่อสี่เดือนก่อนอ้าย..
มันปล่อยไปหกหมื่นกว่า”เอาละซิครับถ้าเป็นท่านๆจะคิดอย่างไร
             ส่วนตัวผมเองมึนครับสงสัยว่าตัวเองคงจะตกควายแน่ๆ(ภาษานักเล่นพระเขาใช้กับพวกที่ซื้อขายของแบบผิดราคาเรียกว่าโง่ยิ่งกว่าควายทำนองนั้นแหละครับ)ผมเลยบอกกับเจ้าของร้านคนใหม่ว่า “เอาอย่างนี้ถ้าคุรไปเอาเหรียญนั้นมาให้ผมได้ในราคาไม่เกินแปดหมื่น ผมให้ค่าเดิน 10%” เจ้าของร้านมองหน้าผมลดน้ำเสียงลงแล้วบอกว่า “ไม่รู้มันขายต่อใครไปแล้วหรือยัง ผมก็ฟังเขามาอีกทีถ้ายังไงจะลองถามดูให้” จากวันนั้นจนถึงวันนี้เจ้าของร้านคนนั้นไม่เคยพูดถึงเหรียญสิบบาทปี 2533 ให้ผมได้ยินอีกเลยครับ ส่วนตัวผมเมื่อซื้อแล้วจะถูกจะแพงอย่างไรจะไม่คิดอีกเพราะไม่เกิดประโยชน์ จะเดินเอาเหรียญกลับไปคืนร้านเดิมก็กลัวเสียฟอร์ม เลยเก็บเอาไว้จนเกือบลืม พอดีน้องกฤตย์ดันเอาเหรียญแบบนี้มาโพสท์ไว้อีกกระทู้หนึ่งเลยนึกขึ้นได้ คุณนิคมก็เร่งไขลานผมซ้ำอีกเลยต้องเอามาโพสท์ดูกัน เหรียญนี้เป็นเหรียญสภาพดีระดับ UNC แต่ด้านหน้ามีรอยด่างเป็นจุดๆนิดหน่อยว่าจะค่อยๆทำความสะอาด ผมยังนึกย้อนไปว่าถ้าผมดันเอาเจ้าเหรียญที่มีตำหนิที่มีตัว T เอาไว้อีกหนึ่งตัว ณ เวลานี้มันยังจะคุ้มไหมหนอ 

ภาพเปรียบเทียบตัวหนังสือระหว่างปี 2533 กับปี 2537 (ที่นิยมเอาไปตัดหางให้เป็นปี 2533) จะสังเกตุเห็นได้ว่าตัวเลขเจ็ดถ้าไม่มีหางจะมีความผอมกว่าเลข
สามของแท้เล็กน้อย และหัวของเลขเจ็ดจะมีความห่างไม่เท่ากับหัวของเลขสามซึ่งเป็นของแท้ครับ

ต้องขอบคุณ : คุณ : นายอรรณพ แก้วปทุมทิพย์ [เลขที่สมาชิก 00000001379] - [ 5 พฤษภาคม 2552 22:35 น. ] http://ecatalog.treasury.go.th/webboard/view.php?qid=3636&gid=12&PageShow=4