บันทึกจากอดีต...เหรียญกษาปณ์ของไทย
จากหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การใช้เงินตราของประเทศไทยพบว่า การแลกเปลี่ยนแต่เดิมนั้นใช้เงินตราจำพวกเหรียญฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย เงินล้านนา เงินล้านช้าง ต่อจากนั้นเริ่มพัฒนามาเป็น เงินพดด้วง ซึ่งเป็นเงินตราของไทยที่ถือเป็นเอกลักษณ์ และใช้กันเรื่อยมานานกว่าหกศตวรรษ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยสืบต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์
จวบจนในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิรูปเงินตราไทยจากที่เคยใช้เงินพดด้วงหรือเงินกลมที่ใช้มาแต่โบราณกาลเปลี่ยนมาใช้เงินเหรียญหรือเงินแบน แบบประเทศทางตะวันตก โดยโปรดเกล้าฯ ให้ประเทศไทยใช้เงินเหรียญนอกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2399 และทรงสร้างโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้ พระราชทานชื่อว่า โรงกษาปณ์สิทธิการ ตั้งอยู่หน้าพระคลังมหาสมบัติ มุมถนนออกประตูสุวภาพบริบาลด้านตะวันออก พร้อมทั้งทรงสั่งเครื่องทำเหรียญกษาปณ์ประเทศจากอังกฤษมาผลิตเหรียญกษาปณ์ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2403 โดยผลิตเหรียญบาท เหรียญสองสลึง เหรียญสลึง และเหรียญเฟื้อง
ในปี พ.ศ.2405 ได้มีประกาศให้ใช้กะแปะอัฐและโสฬสขึ้นใหม่ ด้วยว่าสมัยโบราณไทย และลาวใช้หอยชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ย ใช้แทนเงินปลีก โดยกะแปะอัฐคิดอัตรา 8 อัฐต่อเฟื้อง และโสฬสคิดอัตรา 16 โสฬสต่อเฟื้อง โดยไม่ลดหย่อนแม้เนื้อโลหะที่ทำจะสึกกร่อนไปเพราะการใช้งาน แต่ถ้าเนื้อโลหะขาดบิ่น มูลค่าจะลดลงตามน้ำหนักที่หายไป ส่วนเบี้ยหอยได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เบี้ยดีบุกและเบี้ยทองแดงแทน
เหรียญทองชิ้นแรก สร้างจากโรงกษาปณ์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประทับตราจักรทุกมุม น้ำหนัก 20 บาท ทำด้วยทองคำเนื้อดี ตามมูลค่าทองคำหนัก 1 บาท เท่ากับเงิน 16 บาท เหรียญนี้จึงมีมูลค่า 320 บาท จากนั้นก็มีเหรียญทองแปทศ ทองแปพิศ และทองแปพัดดึงส์ ทำจากเนื้อทอง เหรียญมงกุฎ เหรียญบรรณาการ กะแปะดีบุก ที่มีลักษณะเดียวกับเหรียญทองต่างกันที่ลวดลายและทำจากทองแดง
เหรียญกษาปณ์ รัชกาลที่ 5 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2411 - 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้มีการสร้างเหรียญเงิน ดีบุก ทองแดง และนิเกิล อีกหลายชนิด มี 3 ราคา คือ 1 บาท 1 สลึง และ 1 เฟื้อง เรียกกันว่าเหรียญตราพระเกี้ยว และมีกะแปะดีบุกตราพระเกี้ยว เหรียญเงินรัชกาลที่ 5 ตราแผ่นดิน มีชนิดราคาเดียวกัน คือ 1 บาท เช่นเดียวกับ เหรียญบาทจุฬาลงกรณ์สยามมินทร์ ทำจากประเทศฝรั่งเศส และได้ยกเลิกการใช้เหรียญนอกที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ
เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ 7 สร้างระหว่างปี พ.ศ.2468 - 2472 มีเหรียญเงิน ชนิดราคา 50 สตางค์ และ 25 สตางค์ สตางค์ทองขาว ชนิดราคา 5 สตางค์ และสตางค์ทองแดงราคา 1 สตางค์
เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ 8 มีการสร้างเหรียญทองแดงชนิดราคาครึ่งสตางค์เป็นครั้งแรก และสร้างเหรียญ 50 สตางค์ 25 สตางค์ 20 สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ด้วยดีบุก คนทั่วไปเรียกเหรียญชนิดหัวโต ต่อมาในปี พ.ศ.2489 ได้สร้างสตางค์ราคา 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ด้วยนิเกิล และสร้างสตางค์ชนิดราคา 20สตางค์ 10 สตางค์ และ 5 สตางค์ ด้วยเงิน เมื่อ ปี พ.ศ.2478 และ 2480 ในปี พ.ศ.2484 สร้างสตางค์ชนิดราคา 1 สตางค์ และ ครึ่งสตางค์ ด้วยทองแดง
สตางค์ดีบุกรัชกาลที่ 8 มีลักษณะเช่นเดียวกับสตางค์เงินรัชกาลที่แปด ขนาดเล็ก และไม่มีรู สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านพากันกล่าวว่า "สตางค์ไม่มีรู ศัตรูไม่มีรัง สตางค์ออกใหม่น่าใช้น่าดู" นับว่าเป็นสตางค์ที่ไม่มีรูครั้งแรก เป็นของแปลกสำหรับสมัยนั้น แต่จากนั้นก็ไม่ได้พบเหรียญกษาปณ์ในราคา 1 สตางค์อีก เพราะค่าเงินได้ตกต่ำลงไปตามลำดับ
เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ 9 เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2500 ชนิดราคา 1 บาท ทำด้วยนิเกิล ต่อมาสร้างเมื่อปี พ.ศ.2504 ในโอกาสเสด็จนิวัตพระนคร ในปี พ.ศ.2505 และ ปี พ.ศ.2506 ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 3 รอบ สร้างเหรียญเงิน ชนิดราคา 20 บาท ในโอกาสเดียวกัน จากนั้นก็มีการสร้างเหรียญโลหะสีทอง สีนากและสีเงิน รัชกาลที่เก้า โดยจัดสร้างในวาระต่าง ๆ และพัฒนามาเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้กันใน
ที่มา : ข้อมูลจาก:http://www.heritage.thaigov.net ,http://www.bu.ac.th/NewsandInform/bunews/2546/Feb23/history.html
No comments:
Post a Comment